การทดสอบกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็ม
[ Dynamic Load Test ]

  บริษัท ดับบลิว ไพล์เทสติ้ง มีความชำนาญในการทดสอบกำลังรับน้ำหนักของเสาเข็ม วิธีการ Dynamic load test โดยใช้เครื่องมือ มาตรฐานจากประเทศ สหรัฐอเมริกาซึ่งได้รับการรับรองมาตรฐาน ASTM D 4945-08 ที่ได้รับการยอมรับในหลายประเทศทั่วโลก โดยมีวิศกรที่มีความชำนาญเฉพาะด้าน และ ผ่านการอบรมวิธีทดสอบ   Dynamic load test จากบริษัทยักใหญ่ประเทศสหัฐอเมริกา มาทำการฝึกอบรมให้ที่ประเทศสิงคโปร์ เราจึงมีความพร้อมและความชำนาญในการทดสอบกำลัง รับน้ำหนักของเสาเข็มโดยวิธี Dynamic load test

บริการทดสอบการรับน้ำหนักของเสาเข็ม ( Dynamic Load Test )

      การทดสอบวิธีนี้เป็นการทดสอบเพื่อประเมินการรับน้ำหนักของเสาเข็ม โดยเป็นการทดสอบแบบวิธี Restrike โดยใช้การวัดค่าแรง ( Force ) และความเร็ว ( Velocity ) จากสัญญานสะท้อนคลื่นความเค้น  ( Stress Wave ) ขณะที่มีการกระแทกของลูกตุ้มเหล็กกระแทก แล้วประเมินกำลังรับน้ำหนักด้วยวิธี Case Method และด้วยโปรแกรม Case Pile Wave Analysis Program Continuous Method ( CAPWAP ) โดยใช้มาตรฐานการทดสอบ ASTM D 4945-96

     โดยทางวิศวกรผู้ออกแบบได้กำหนดให้มีการทดสอบโดยให้สามารถรับน้ำหนักบรรทุกออกแบบมีค่าความปลอดภัยได้ตามที่วิศวกรได้กำหนดไว้

เครื่องมือและอุปกรณ์ทดสอบ

          1.Pile Driving Analyzer           เครื่องประมวลผลการทดสอบ

          2.Accelerometer Sensor         อุปกรณ์ในการวัดค่าความสมบูรณ์ของเสาเข็ม

          3.Strain Gauges Transducer   อุปกรณ์ในการวัดค่ากำลังของเสาเข็ม

          4.เครน/ตุ้มเหล็ก/ปั้นจั่น              อุปกรณ์ในการให้กำหนดคลื่นความเค้น โดยใช้เครนพร้อมตุ้มเหล็ก

                                                     ทดสอบ ที่มีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 1.5% ของน้ำหนักทดสอบสูงสุด

                                                     หรือปั้นจั่นแล้วแต่กรณี

          5.สว่าน                                 สำหรับเจาะติดตั้งเครื่องมือเพื่อยึด Accelerometer Sensorและ

                                                     Strain Transducer แนบด้านข้างเสาเข็มทดสอบ

วิธีการทดสอบ

          ทำการเจาะรู้ด้านข้างของเสาเข็มทดสอบ โดยให้ตำแหน่งต่ำกว่าหัวเสาเข็มประมาณ 1.0-1.50 เท่าของเส้นผ่าศูนย์กลาง โดยเจาะ 2ด้าน ด้านละ 3รู ให้ตรงข้ามกัน และทำการติดตั้งอุปกรณ์วัดทั้งสองประเภท คือ Strain Gauges 2ชุด และAccelerometer 2ชุด ด้วย Expansion Blot ด้านละ 1ชุด และต่อสายอุปกรณ์เข้ากับเครื่องPile Driving Analyzer ( PDA ) และทำการปรับค่า Initial Tension ใน Strain Gauges ทั้ง 2ชุด ให้มีค่าในตำแหน่งที่เหมาะสม แล้วทำการทดสอบโดยใช้ตุ้มทดสอบ ที่มีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 1.5% ของน้ำหนักทดสอบสูงสุด โดยใช้ระยะยกประมาณ 0.50-2.00 เมตร หรือขึ้นอยู่กับการพิจารณาของวิศวกรควบคุมการทดสอบภาคสนาม โดยจะพิจารณาข้อมูลขณะทำการทดสอบ โดยการปล่อยกระแทกลงบนหัวเสาเข็มทดสอบโดยใช้ไม้อัดปูรองหัวเสาเข็มพร้อมกระสอบหนาบนหัวเสาเข็ม โดยแต่ละครั้งที่ปล่อยกระแทก จะวัดค่าการทรุดตัวในแต่ละครั้ง และตรวจสอบสัญญานที่เกิดขึ้น โดยสังเกตการทรุดตัวของเสาเข็มในภาคสนามที่ถูกต้องโดยต้องมีระยะการทรุดตัวไม่เกิน 5.0 มิลลิเมตร ในแต่ละครั้งที่ปล่อยตุ้มกระแทกบนหัวเสาเข็ม โดยเก็บสัญญานนำไปทำการวิเคราะห์ด้วยโปรแกรม CAPWAP เพื่อสรุปหาค่ากำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มที่ถูกต้อง

ผลการทดสอบ

     จากข้อมูลผลการทดสอบที่ภาคสนามด้วยเครื่องมือ Pile Driving Analyzer Equipment ด้วยโปรแกรม PDA โดยตรวจสอบความถูกต้องของสัญญาณที่เกิดขึ้นขณะทดสอบ แล้วนำสัญญานที่ได้ทำการวิเคราะห์ผล ด้วยโปรแกรม CAPWAP เพื่อคำนวณค่ากำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มที่ถูกต้องต่อไป

รายงานผลการทดสอบ

     ผลกำลังรับน้ำหนักบรรทุกของเสาเข็มสูงสุดขณะทำการทดสอบ ( Ultimate Load Capacity ) ของเสาเข็ม ( Skin Friction-End Bearing )

     ค่าความสำพันธ์ระหว่างน้ำหนักบรรทุกกับค่าทรุดตัวของเสาเข็ม Load-Settlement Curve

     สภาพความสมบูรณ์ของเสาเข็ม ( Pile Integrity Condition ) ในขณะทำการทดสอบ

ขอบเขตและเงื่อนไขในการทำงาน

     ผู้ว่าจ้างจะต้องเตรียมสภาพหัวเสาเข็มให้อยู่ในสภาพคอนกรีตที่ดี พร้อมทั้งทำ Pile Cap หัวเสาเข็ม และทำการขุดโดยรอบหัวเสาเข็มเพื่อให้มีพื้นที่สำหรับทำการติดตั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ในการทดสอบ สำหรับเสาเข็มเจาะต้องมีอายุไม่น้อยกว่า 15 วัน นับจากเทคอนกรีตเสร็จสิ้น โดยผู้ว่าจ้างจะต้องเตรียมทางสำหรับ เข้า-ออก ในกรณีต้องใช้เครนและลูกตุ้มทดสอบของทางบริษัท